วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สิวเสี้ยน??

สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa=TSS) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน เป็นความผิดปกติของต่อมรูขน (pilosebaceous follicles) โดยมีลักษณะคล้ายสิวอุดตันหัวดำ (Black comedone) แต่จะมีกระจุกเซลล์ขน (vellous telogen hair) แทรกอยู่ด้วย มีลักษณะเป็นจุดดำๆ หรือมีหนามแหลมๆ ยื่นออกมาทางขุมขนบริเวณจมูก หน้าผาก หรือข้างแก้ม และที่หลังบริเวณกระดูกสบัก

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการสร้างเซลล์ขนในระยะ Vellous telogen hair มากกว่าปกติ มักจะเกิดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก โดยจะเริ่มจากมีการอุดตันเกิดขึ้นที่ท่อต่อมไขมัน และไขมันที่ถูกสร้างขึ้นจะรวมตัวกับเซลล์ชั้นขี้ไคลจากผนังท่อ กลายเป็นก้อนที่เรียกว่า Comedone (คอมีโดน) ต่อมาจะมีเซลล์ขนที่เกิดมากกว่าปกตินี้มาพอกสะสมกับเป็นก้อนคุดคู้อยู่ข้างใน เรียกว่า ในรูขุมขนแทนที่จะมีขนเพียง ๑ เส้น แต่กลับมีขนเส้นเล็กๆ ๓-๔ เส้น อัดกันแน่น รวมตัวกับเซลล์ชั้นขี้ไคล และถูกห่อหุ้มด้วยผนังท่อต่อมไขมัน เกิดการอุดตัน และทำให้หลุดออกได้ยากกว่าปกติ




แนวทางการแก้ไข 

๑. กรดวิตามินเอ ที่มีบทบาทมากในการรักษาสิวเสี้ยน คือ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเข้าไปละลายการอุดตันของต่อมไขมัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสิว P.acne จึงป้องกันและทำให้สิวเสี้ยนหลุดออกได้ง่าย อาจจะใช้ในรูปของยาทา หรือทำไอออนโตด้วยกรดวิตามินเอ 

แต่มีข้อควรระวังก็คือ เนื่องจาก กรดวิตามินเอ มีการระคายเคืองได้ง่าย จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้ผิวแห้ง ผิวลอก หน้าแดงได้ จึงควรทากรดวิตามินเอเฉพาะบริเวณจมูก หน้าผาก หรือคางที่มีสิวเสี้ยน แล้วทิ้งไว้ ๕-๑๐ นาที หรืออาจทิ้งไว้นานกว่านี้ได้ถ้าไม่มีอาการดังกล่าว บางครั้งอาจจะผสม ไลโบโซม ซึ่งลดการระคายเคืองของกรดวิตามินเอ ทำให้สามารถทาทิ้งไว้ทั้งคืนได้ สะดวกในการใช้มากขึ้น

๒. Chemical Peeling: เป็นแนวทางการรักษาอีกวิธีหนึ่งกรณีที่กรดวิตามินเอไม่สามารถทำให้หลุดได้หมด โดยใช้สารเคมีพิเศษ เช่น TCA, AHA, BHA เพื่อลอกผิวหน้า เปิดรูขุมขนหรือรูสิวเสี้ยน เพื่อง่ายต่อการกดออก หรือดึงออกด้วยครีมคีบสิวเสี้ยน

๓. Scottape technique: โดยอาจจะอยู่ในรูปของแผ่นแปะจมูกที่เคลือบสารที่ทำให้ติดแน่น แปะที่จมูกและทิ้งไว้ระยะหนึ่ง แล้วค่อยดึงออก หรือ ใช้สาร Cyanoacrylate polymer glue ซึ่งมีคุณสมบัติในการติดแน่น คล้ายคลึงกับกาวตราช้าง (ซึ่งมีส่วนประกอบของสารคล้ายคลึงกัน) ใช้ทาบน slide แล้วนำไปวางบริเวณสิวเสี้ยน แล้วดึงออก สิวเสี้ยนจะหลุดติดออกมา แต่ก็มีข้อจำกัด คืออาจจะทำให้แพ้สารเคมีนี้ได้ และกำจัดสิวเสี้ยนได้ไม่หมด และไม่สามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้ทุกที่

๔. การกำจัดสิวเสี้ยนด้วย Laser ได้มีรายงานการวิจัยขอ นพ. วรพงษ์ มนัสเกียรติและคณะจากรพ.ศิริราช ในการประชุมประจำปีของสมาคมแพทย์โรคผิวหนังในปี ๒๕๔๕ ถึงการทำการรักษาคนไข้ที่มีปัญหาสิวเสี้ยนจำนวน ๑๓ คน โดยใช้ ๘๐๐ NM Pulse Diode Laser พบว่าหลังทำจุดดำๆ จากสิวเสี้ยนลดลงได้มากกว่า ๕๐% และเมื่อทำหลายๆ ครั้งสามารถกำจัดสิวเสี้ยนได้เกือบหมด แต่ไม่ช่วยในเรื่องรูขุมขนที่กว้าง ที่อาจจะทำให้เกิดสิวเสี้ยนได้อีก มีผลข้างเคียงหลังทำเพียง รอยแดงบริเวณรูขุมขนหลังทำ ๒-๓ วันก็หายดี

๕. การกำจัดสิวเสี้ยนด้วยเครื่อง IPL (intense pulse light) โดยอาศัยหลักการที่สิวเสี้ยน คือ กระจุกขนที่อัดแน่นบริเวณรูขุมขน ดังนั้นการ apply การกำจัดขนด้วยเครื่อง IPL จึงสามารถทำให้ขนที่คุดคู้นี้หลุดลอกออกได้ โดยเมื่อทำควบคู่กับการทำ peeling และการทาครีมลอกสิวเสี้ยนที่ผสมวิตามินเอ และช่วยป้องกันการเกิดเซลล์ขนใหม่ในบริเวณดังกล่าวด้วย ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ได้ผลดีมาก ไม่พบผลข้างเคียง และสามารถทำได้ทุกจุดของร่างกาย

๖. หรืออาจจะลองวิธีง่ายๆ ก็ได้ค่ะ ใช้ไข่ขาวอย่างเดียวมาทาตรงบริเวณที่เป็นและใช้กระดาษทิชชูปิดทับไว้จนกว่าจะแห้งแล้วลอกออกโดยการดึงย้อนขึ้นก็จะมีสิวเสี้ยนหลุดออกค่ะ


คัดลอกจาก http://www.jeban.com/viewtopic.php?t=28107